แผนยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วง  ๓  ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๘ – พ.ศ. ๒๕๖๐)

๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางการพัฒนา คือ

  • พัฒนาเส้นทางคมนาคมในหมู่บ้าน และในพื้นที่การเกษตรอย่างคลอบคลุมทั่วถึง
  • จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
  • พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างทั่วถึง
  • พัฒนาระบบผังเมืองของชุมชนตำบลเมืองลี

๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  แนวทางการพัฒนา  คือ

  • ส่งเสริมสนับสนุนตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
  • ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน
  • ส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะ มีงานเพิ่มขึ้น
  • ส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และจัดให้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า
  • พัฒนาและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
  • พัฒนา ปรับปรุง เส้นทางคมนาคมสู่แหล่งท่องเที่ยว

๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แนวทางการพัฒนา คือ

  • สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษา กีฬา และสันทนาการ
  • สนับสนุนและส่งเสริมกิจการด้านสาธารณสุข ปศุสัตว์ และสุขาภิบาล
  • ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและนันทนาการให้แก่ประชาชน
  • สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาการให้มีความรู้ คู่คุณธรรมและจริยธรรม
  • สนับสนุนโภชนาการให้แก่เด็กนักเรียนก่อนปฐมวัย และประถมศึกษา ทุกโรงเรียน
  • สนับสนุนให้มีการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
  • สนับสนุนส่งเสริมประชาคม และการมีส่วนร่มของประชาชน
  • การพัฒนาความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน
  • สนับสนุนและส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา คือ

  • อนุรักษ์  ฟื้นฟู สนับสนุน  ส่งเสริม และบูรณาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ส่งเสริมให้ประชาชนโอกาสศึกษา เรียนรู้ถึงมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของตำบลเมืองลี
  • ทำนุบำรุงแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุและโบราณสถานภายในตำบลเมืองลี

๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา คือ

  • ส่งเสริม  สนับสนุน  สร้างจิตสำนึก  และความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริม  สนับสนุน  เฝ้าระวัง  และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สร้างจิตสำนึก  ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบบำบัดน้ำเสีย  และกำจัดขยะ มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ

๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการ แนวทางการพัฒนา คือ

  • สนับสนุนให้มีการประสานงานการพัฒนาระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลี ร่วมกับหน่วยงานอื่น
  • สนับสนุน  ส่งเสริมงานบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
  • การพัฒนาองค์กรให้มีการปฏิบัติงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง  การบริหาร  และด้านบุคลากร
  • จัดหาวัสดุ  ครุภัณฑ์ และเครื่องจักรกลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน  เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของการบริหารส่วนตำบลเมืองลี  ในการจัดบริการสาธารณะ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรชุมชน

๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการวิถีชุมชนพื้นที่ต้นน้ำ แนวทางการพัฒนา คือ

  • สนับสนุนให้ใช้แผนที่ชุมชนท้องถิ่นในการวางแผนจัดการชุมชน
  • สนับสนุนให้มีการจัดการพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่อยู่อาศัย การถือครองที่ดินที่เหมาะสมกับพื้นที่ป่าต้นน้ำ
  • สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือแบบสหการเพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรของพื้นที่ลุ่มน้ำ

กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดน่าน

๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางการพัฒนา คือ

  • พัฒนาเส้นทางคมนาคมในจังหวัดให้ได้มาตรฐาน ครอบคลุม และทั่วถึง
  • จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค
  • พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการอย่างทั่วถึง
  • พัฒนาระบบผังเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แนวทางการพัฒนา  คือ

  • จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  • ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน
  • ส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะ มีงานเพิ่มขึ้น
  • ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และจัดให้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า
  • พัฒนาและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว
  • พัฒนาบุคลากร การบริการ และการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
  • พัฒนา ปรับปรุง เส้นทางคมนาคมสู่แหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางขนถ่ายผลผลิต
  • การแก้ไขปัญหาความยากจน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์

๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แนวทางการพัฒนา   คือ

  • สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษา
  • สนับสนุนและส่งเสริมกิจการด้านสาธารณสุข
  • ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและนันทนาการแก่ประชาชน
  • สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาการให้มีความรู้ คู่คุณธรรมและจริยธรรม
  • สนับสนุนโภชนาการให้แก่เด็กนักเรียนก่อนปฐมวัย และประถมศึกษา ทุกโรงเรียน
  • สนับสนุนให้มีการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
  • สนับสนุนส่งเสริมประชาคมและการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • การพัฒนาความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน
  • สนับสนุนและส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา   คือ

  • อนุรักษ์ ฟื้นฟู สนับสนุน ส่งเสริมและบูรณาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสศึกษา ค้นคว้า วิจัยมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน
  • พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถานภายในจังหวัดน่าน

๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา   คือ

  • ส่งเสริม สนับสนุน สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริม สนับสนุน เฝ้าระวัง และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สร้างจิตสำนึก ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบบำบัดน้ำเสีย และกำจัดขยะ มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ

๖. ด้านการบริหารจัดการและการบริการ แนวทางการพัฒนา  คือ

  • สนับสนุนให้มีการประสานงานการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น
  • สนับสนุน ส่งเสริมงานบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาองค์กรให้มีความเหมาะสมตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง การบริหาร และด้านบุคลากร
  • จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และเครื่องจักรกลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรชุมชน

๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการวิถีชุมชนพื้นที่ต้นน้ำ แนวทางการพัฒนา คือ

  • สนับสนุนให้ใช้แผนที่ชุมชนท้องถิ่นในการวางแผนจัดการชุมชน
  • สนับสนุนให้มีการจัดการพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่อยู่อาศัย การถือครองที่ดินที่เหมาะสมกับพื้นที่ป่าต้นน้ำ
  • สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือแบบสหการเพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรของพื้นที่ลุ่มน้ำ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดน่าน

วิสัยทัศน์   “เมืองสงบสุข ธรรมชาติสมบูรณ์  แหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย พร้อมมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน”

พันธกิจ (Mission)

  1. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นเมืองอุทยานแห่งชาติ เมืองแห่งชุมชนคนต้นน้ำที่คงความสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
  2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสร้างความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างสมดุล
  3. พัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิต การศึกษาและสุขอนามัยที่ดี มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขั้นให้สอดคล้องกับวิธีชีวิตชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  4. เสริมสร้างความสัมพันธ์ชายแดน ตลอดจนวางระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้สู่ประชาคมอาเซียน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดน่าน

ยุทธศาสตร์ที่  ๑  บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่นยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่  ๒  พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่  ๓  พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องกับวิถีชิวิตชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่  ๔  เสริมสร้างความสัมพันธ์ชายแดน ตลอดจนวางระบบบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

เป้าประสงค์หลัก

เพื่อให้จังหวัดน่านเป็นชมชนต้นน้ำที่มีความสุข  มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม คงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ รองรับนักท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นประตูเชื่อมโยงสู่ประชาคมอาเซียน


ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  ๑๑
(พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙)           

๑. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญ คือ

  • การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยควบคู่กับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง
  • การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจก และสร้างการมีส่วนร่วมในการกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ
  • การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
  • การสานสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตะหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน  ให้ความสำคัญ คือ

  • การปรับโคตรงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม
  • การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม
  • การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม

๓. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน  ให้ความสำคัญ คือ

  • การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน
  • การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร
  • การสร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต
  • การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร
  • การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวิภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน
  • การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็งภาคการเกษตร
  • การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน

๔. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ให้ความสำคัญ คือ

  • การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน
  • การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
  • การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียม และเป็นธรรม
  • การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีเสถียรภาพ

๕. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญ คือ

  • การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือใน   อนุภูมิภาคต่างๆ
  • การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค
  • การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  • การเข้าร่วมเป็นภาคความมือระหว่างประเทศและภูมิภาคภายใต้บทบาท ที่สร้างสรรค์    เป็นทางเลือกในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศในเวทีโลก
  • การสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการส่งเสริมแรงงานไทยในต่างประเทศ
  • การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสังคมนานาชาติที่มีคุณภาพชีวิต ป้องกันภัยจากการก่อสร้างร้ายและอาชญากรรม  ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรคภัย
  • การเสริมสร้างความมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเปิดรับความมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร
  • การเร่งตัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว
  • การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุน และการประกอบธุรกิจในเอเชียรวมทั้งเป็นฐานความมือในการพัฒนาภูมิภาค
  • การปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาภายในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น

๖. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  ให้ความสำคัญ คือ

  • การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชิตลิส่งแวดล้อม
  • การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การยกระดับขีดความสามารถในการรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ  เพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน
  • การเตรียมความพร้อมรองรับกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับครอบความตกลงและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
  • การควบคุมและลดมลพิษ
  • การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ